ศาลแขวงราชบุรี
ประวัติศาลแขวงราชบุรี |
ศาลแขวงราชบุรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2500 มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่ปกครองของจังหวัดราชบุรีทั้งหมด 10 อำเภอ ตั้งแต่เริ่มเปิดทำการ ศาลแขวงราชบุรีได้ใช้อาคารที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2449 สมัยราชการที่ 5และเคยใช้เป็นที่ทำการของศาลมณฑลราชบุรี ซึ่งตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนวิชิตสงคราม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นที่ทำการในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและให้บริการแก่คู่ความและประชาชน ตลอดมา |
|
ต่อมาสำนักงานศาลยุติธรรมเห็นว่าอาคารดังกล่าวเป็นอาคารเก่า มีความคับแคบ มีห้องพิจารณาคดีเพียง 3 บัลลังก์ ประกอบกับ |
|
-------------------------------------- | ------------------------------------------------------------- |
ศาลแขวงราชบุรีในอดีต | |
|
ศาลแขวงราชบุรี เดิมเรียกว่า โปรีสภา ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลโปรีสภา เมื่อ ร.ศ. 111 โดยตั้งขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อปี ร.ศ. 113 ได้ประกาศตั้งศาลโปรีสภาขึ้นในกรุงเทพมหานครอีก 3 ศาล ต่อมาเมื่อ ปี ร.ศ. 114 ได้ยุบสภาโปรีสภา 1 ศาล เหลือโปรีสภาเพียง 3 ศาล คือ ศาลโปรีสภาที่ 1 เขตอำนาจทางทิศเหนือนับแต่ปากคลองโอ่งอ่างด้านใต้เลื่อนไปตามฝั่งคลองโอ่งอ่างฝั่งใต้ถึงคลองแยกมหานาค เลี้ยวไปตามคลองมหานาคฝั่งใต้จนถึงคลองแสนแสบตลอดคลองนั้นไปจนจรดเขตอำเภอมีนบุรี ทิศตะวันตกนับแต่ปากคลองโอ่งอ่างตอนใต้ ลงไปตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกจนจรดเขตจังหวัดสมุทรปราการ ทางทิศอื่นติดต่อกับเขตอำเภอมีนบุรี อำเภอลาดกระบัง และจังหวัดสมุทรปราการ ศาลโปรีสภาที่ 2 มีเขตอำนาจทางตอนเหนือของจังหวัดพระนคร ทิศใต้นับแต่ ปากคลองโอ่งอ่างตอนใต้ไปตามฝั่งคลองโอ่งอ่างจนถึงคลองแยกมหานาค แล้วถือแนวไปตามคลองแยกมหานาค จนถึงคลองแสนแสบ ตลอดไปถึงเขตมีนบุรี ส่วนทางทิศตะวันตกนับแต่ ปากคลองโอ่งอ่าง ตอนใต้ขึ้นไปตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านตะวันตกจรดแนวเขตแดนจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี ศาลโปรีสภาที่ 3 มีเขตอำนาจในจังหวัดธนบุรีทั้งหมด รวมทั้งเขตแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งสายเท่าที่อยู่ในเขตธนบุรี ซึ่งทางทิศเหนือจรดจังหวัดนนทบุรี ทิศใต้จรดจังหวัดสมุทรปราการเมื่อประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อศาลโปรีสภา เป็นศาลแขวง และในปี พ.ศ. 2478 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงสำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พ.ศ. 2478 ให้ตั้งศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครเหนือ และศาลแขวงธนบุรีขึ้น ซึ่งมีเขตอำนาจเดิมของศาลโปรีสภา ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ตามลำดับ ส่วนในหัวเมืองนั้นได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงสำหรับหัวเมือง พ.ศ. 2478 โดยให้ตั้งศาลแขวงขึ้นโดยกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวงฉบับที่ 1 ให้ตั้งศาลแขวงมีนบุรี ศาลแขวงแม่สะเรียง ศาลแขวงหลังสวน ในปี พ.ศ. 2478กฎกระทรวงฉบับที่ 2 ให้ตั้งศาลแขวงแม่สอด ศาลจังหวัดตะกั่วป่า ปี พ.ศ. 2479 กฎกระทรวงฉบับที่ 3 ให้ตั้งศาลแขวงกบินทร์บุรี ในปี พ.ศ. 2480 กฎกระทรวงฉบับที่ 4 ให้ตั้งศาลแขวงเบตง ในปี พ.ศ. 2482 ต่อมาในมีการยกฐานะของศาลแขวงทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นขึ้นเป็นศาลจังหวัด ครั้นต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2499 จึงได้เปิดทำการศาลแขวงในหัวเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยเปิดขึ้นทั้งหมด 14 ศาล โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดจัดตั้งศาลแขวงโดยพระราชกฤษฎีกา |
|
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศาลแขวงขึ้น 17 ศาล ในปี พ.ศ. 2500 ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ศาลแขวงลพบุรี ศาลแขวงชลบุรี ศาลแขวงนครราชสีมา ศาลแขวงสุรินทร์ ศาลแขวงอุบลราชธานี ศาลแขวงอุดรธานี ศาลแขวงขอนแก่น ศาลแขวงเชียงใหม่ ศาลแขวงลำปาง ศาลแขวงพิษณุโลก ศาลแขวงนครสวรรค์ ศาลแขวงราชบุรี ศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลแขวงนครศรีธรรมราช ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี และศาลแขวงสงขลา ศาลแขวงราชบุรีเคยสังกัดกระทรวงยุติธรรม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มาตรา 21 บัญญัติให้กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจเกี่ยวกับการยุติธรรมแต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 11 กระทรวงหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 1 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของศาลทั้งหลายที่สังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรม แต่การพิจารณาคดีรวมตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาบังคับคดีให้เสร็จเด็ดขาดอยู่ในดุลพินิจของศาลศาลยุติธรรมแยกออกจากกระทรวงยุติธรรมตามผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 275 ที่บัญญัติให้ศาลยุติธรรม มีหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระและกฎหมายประกอบรัฐธรรม คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 และมีผลบังคับใช้หลังประกาศ 60 วัน คือ วันที่ 20 สิงหาคม 2543 |
ศาลแขวงราชบุรี เดิม ก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อาคารศาลแขวงราชบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนวิชิตสงคราม ในที่ดินของราชพัสดุ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับ ร.ศ. 125 หรือ พ.ศ. 2449 เพื่อใช้เป็นที่ทำการศาลมณฑลราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงยกเลิกศาลมณฑลราชบุรี ตั้งเป็นศาลจังหวัด อาคารหลังนี้จึงเป็นที่ทำการศาลจังหวัดราชบุรีมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นใช้เป็นที่ทำการศาลแขวงราชบุรี เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น บานประตูและหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลาย หลังคาทรงจั่ว ตรงหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น ตราประจำรัชกาลที่ 5 ภายในมีบันไดเวียนขึ้นชั้นบนทั้งสองชั้น มีห้องโถงอยู่ตรงกลาง และมีห้องปีกทั้งสองข้าง ลักษณะของอาคารเป็นแบบตะวันตกที่นิยม ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนอาคารศาลแขวงราชบุรี เป็นโบราณสถานโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ประกาศณ วันที่ 27 เมษายน 2520 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 39 ) ที่ดินของโบราณสถานศาลแขวงราชบุรี โดยประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 26 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2532) |
|